Skip to content

การทำงาน การค้า การเจรจาทางด้านธุรกิจ

รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ การทำงาน การติดต่อทางการค้า และการเจรจาทางด้านธุรกิจ

Home > 2014 > April > 21 > การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการทรัพทยากรน้ำ
Published April 21st, 2014 by admin

การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการทรัพทยากรน้ำ

ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านอุปโภคบริโภค ด้านการผลิตและเกษตรกรรม ซึ่งทรัพยากรน้ำต้นทุนเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ของประเทศ จากการพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูล พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝนและระดับน้ำทะเล เนื่องจากปริมาณรูปแบบเชิงเวลาและพื้นที่ของการเกิดฝนที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม รวมถึงภัยพิบัติ น้ำท่วม น้ำแล้ง พายุ ดินถล่ม ไฟป่า ที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นผลจากภาวะโลกร้อน หากไม่สามารถบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติได้ ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมด้วย

best_51_pic4_1การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันเน้นหนักในเรื่องการจัดหาน้ำ สำหรับฤดูแล้งการเพิ่มของประชากรและความเข้มข้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ได้เพิ่มความต้องการน้ำมาเป็นลำดับ การขนาดแคลนน้ำเริ่มเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและถาวรมากขึ้น สถาบันการจัดการน้ำหลักของไทย คือ กรมชลประทานประสบปัญหาการจัดหาน้ำมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ปัญหาจากการต่อต้านสร้างเขื่อน เพราะปัญหาด้านการชดเชยชุมชนที่ได้รับผลกระทบ และผลการะทบต่อสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะด้านระบบนิเวศของป่าไม้ หน่วยงานของรัฐ ซึ่งแต่เดิมเคยมีหน้าที่จัดหาน้ำ จึงจำเป็นต้องมารับหน้าที่จัดสรร  แต่รัฐขาดทั้งกติกาและเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรน้ำ

ความขัดแย้งด้านการจัดสรรน้ำได้กลายเป็นปัญหาสำคัญในภาคเกษตร ทั้งในระหว่างราษฎรด้วยกันระหว่างราษฎรกับรัฐ และระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน การขยายตัวอย่างรวดเร็วของความต้องการน้ำของเมืองและภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการช่วงชิงทรัพยากรน้ำ ระหว่างเมืองกับชนบท ปัญหาที่จะต้องตัดสินใจในระบบปัจจุบันก็คือ ใครควรได้น้ำและควรได้เท่าไร ประเทศไทยได้จัดว่าไม่ขาดแคลนน้ำมากนัก และสัดส่วนการกักเก็บน้ำของไทยอยู่ในระดับสูง แต่ไทยมีภาคเกษตรซึ่งปลูกข้าวเป็นหลัก ข้าวเป็นพืชที่ใช้น้ำมาก สถานการณ์น้ำของประเทศไทยจึงจะตึงตัวตลอด 20 ปีข้างหน้า และตึงตัวสูงสุดปลายทศวรรษนี้ ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการปลูกข้าวทำให้มีการปลูกข้าวนาปรังได้ 1 ถึง 2 ครั้งในฤดูแล้งนอกจากนี้ ความต้องการน้ำยังแกว่างไกวตามราคาข้าวในตลาดโลก และเกษตรกรได้ใช้น้ำใต้ดินเป็นน้ำสำรองเพื่อปลูกข้าว การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ล้วนแต่ท้าทาย และสร้างความกดดันต่อระบบบริหารจัดการน้ำแบบกำกักและควบคุมในปัจจุบัน

Previous Post ทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญโดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมเกษตร

Next Post จากการวิจัยสิ่งแวดล้อมทรัพยากรน้ำมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

เรื่องของธุรกิจ

การจัดสรรน้ำ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

Recent Posts

  • THC Oil สามารถช่วยให้คุณต่อสู้กับความเครียด
  • สัญญาณเริ่มต้นของปัญหาการจัดฟันเชียงใหม่
  • ประเภทของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยหมัก
  • จองเลขทะเบียนรถอุปกรณ์เสริมที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  • LINE for Business คำตอบสำหรับคำถามของคุณในการเริ่มต้นธุรกิจการตลาดออนไลน์

การทำงาน การค้า การเจรจาทางด้านธุรกิจ

รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ การทำงาน การติดต่อทางการค้า และการเจรจาทางด้านธุรกิจ
Designed by Compete Themes