มลพิษสิ่งแวดล้อม (Pollution Environment) คือ ภาวะที่มีสารมลพิษ (Pollutants) หรือภาวะแปลกปลอมอื่น ๆ ปะปนในสิ่งแวดล้อมในระดับที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เป็นภาวะที่ผิดปกติไปจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติเดิม เกินขีดมาตรฐานที่ชีวิต
จะทนได้ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 ได้ให้ความหมายของมลพิษไว้ว่า “ของเสีย วัตถุอันตรายและมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่ปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษหรือที่มี
อยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้และให้หมายความถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง คลื่น ความสั่นสะเทือนหรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษด้วย”
มลพิษทางน้ำ หมายถึง สภาวะที่น้ำตามธรรมชาติถูกปนเปื้อนด้วยสิ่งแปลกปลอม (pollutants) และทำให้คุณภาพของน้ำเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลงหรือคุณภาพเสื่อมโทรมลง ยังผลให้การใช้ประโยชน์จากน้ำนั้นลดลงหรืออาจ ใช้ประโยชน์
ไม่ได้เลยอุณหภูมิของน้ำที่สิ่งมีชีวิตจะอยู่ได้อย่างปกติขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ปลาในเขตอบอุ่นอาจจะอยู่ในอุณหภูมิสูงสุด 15 องศาเซลเซียส และต่ำสุดอาจเพียง 3 องศาเซลเซียสก็ได้ ส่วนสัตว์ในประเทศไทยอยู่ได้ระหว่าง 20 – 35 องศาเซลเซียส ถ้าร้อนหรือเย็นกว่านี้อาจทำให้ตายได้ เนื่องจากมีผลต่อการเร่งปฏิกิริยาเคมี และมีผลต่อการละลายของออกซิเจนในน้ำ และมาตรฐาน น้ำทิ้งของโรงงานอุตสากรรมอุณหภูมิในน้ำต้องไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส
สีของน้ำสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ง่ายและบ่งชัดที่สุด ปกติแหล่งน้ำ ธรรมชาติทั่วไปจะมีสีใส เหลืองอ่อน จนถึงสีน้ำตาลอ่อน แต่การที่สีของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจากธรรมชาติจนมีสีดำ สีแดง สีเขียว หรือสีอื่น ๆ อาจเกิดขึ้นเนื่องจากมีสารแขวนลอยและสารละลาย รวมทั้งสารอินทรีย์ต่าง ๆ ละลายอยู่ หรืออาจเกิดจากพืชในน้ำอาจทำให้สีของน้ำเปลี่ยนไป โดยที่น้ำนั้นไม่ได้เป็นน้ำเสียแต่อย่างใด สำหรับสีของน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติในประเทศไทย มีค่าระหว่าง 11 – 18 หน่วย แต่ในแม่น้ำเจ้าพระยา 20 -26 หน่วย ซึ่งใกล้เคียงกับแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง ส่วนความขุ่นโดยธรรมชาติอยู่ระหว่าง 25 – 75 เจทียู แม่น้ำใหญ่ ๆ ทุก ๆ ภาค มีค่าความขุ่นมากกว่า 80 หน่วยเจทียู สีในน้ำไม่ควรเกิน 20 หน่วย ความขุ่นไม่เกิน 25 หน่วย