ในบรรดางานพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อนำน้ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจการด้านต่างๆนั้น งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นการจัดหาและนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้านการเกษตร ด้วยวิธีการที่เหมาะสม จัดว่าเป็นงานที่มีความสำและมีประโยชน์มากอย่างยิ่งในการช่วยให้เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน มีพื้นที่เพาะปลูกเป็นจำนวนมากตามภาคต่างๆ ส่วนใหญ่ยังคงอาศัยน้ำฝนและใช้น้ำจากแม่น้ำลำธารตามที่มีเป็นหลัก ปีใดที่มีฝนตกโดยเฉลี่ยดีตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ก็จะทำให้การเพาะปลูกในปีนั้นได้รับผลดีตามไปด้วย แต่ถ้าหากปีใดมีฝนตกน้อยหรือไม่มีฝนตกในเวลาที่พืชต้องการ การเพาะปลูกในปีนั้นก็จะได้รับความเสียหายหรือไม่ได้รับผลิตผลดีเท่าที่ควร เป็นเหตุให้เกษตรในหลายท้องที่ต้องได้รับความเดือดร้อนเพราะไม่มีน้ำสำหรับทำนาปลูกพืชไร่ และใช้เลี้ยงสัตว์ อยู่เสมอทุกปี กรณีพื้นที่เพาะปลูกซึ่งพืชที่ปลูกได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง เนื่องจากเกิดความแห้งแล้งยาวนานผิดปกติ น้ำในลำธารตามธรรมชาติแห้งขอดและไม่มีโครงการชลประทานช่วยเหลือมาตรการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไม่ให้พืชผลได้รับความเสียหาย ได้แก่ การจัดทำฝนเทียมหรือฝนหลวงช่วยเหลือในหลายปีที่ผ่านมา คราวใดเกิดความแห้งแล้งผิดปรกติในฤดูแล้งและต้นฝน การทำฝนหลวงมีส่วนช่วยพืชผลของชาวไร่ชาวสวนหลายจังหวัดไม่ให้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการขาดแคลนน้ำผิวดินได้มากทีเดียว ในปัจจุบัน กล่าวได้ว่าอ่างเก็บน้ำ (สร้างเขื่อนเก็บน้ำ)มีข้อจำกัดเรื่องสภาพภูมิประเทศและแหล่งน้ำ ตลอดจนผลกระทบกับชุมชนและสังคมที่ยากในการจัดการให้เหมาะสม หน่วยงานภาครัฐต้องตระหนักความจริงว่าทำได้น้อยแห่ง และบางลุ่มน้ำทำไม่ได้เลยไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม…
อาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ อาหารให้พลังงานให้แก่ร่างกาย เพื่อนำไปใช้ในการทำงานของระบบต่างๆ ทำให้ร่างกายสามารถเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อันเป็นกิจกรรมตามธรรมชาติของชีวิต อาหารที่ดีนอกจากจะได้สารอาหารตามสัดส่วนที่ร่างกายต้องการ ยังต้องปลอดภัยจากสิ่งแปลงปลอมหรือสิ่งปนเปื้อนที่เป็นโทษต่อร่างกาย โดยเฉพาะสิ่งปนเปื้อนทางชีวภาพ ได้แก่ เชื้อจุลินทรีย์ สารพิษของจุลินทรีย์ และพยาธิต่างๆ แต่การรับประทานอาหารตามร้านค้ามักจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในอาหารหรือน้ำซึ่งอาจทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษแก่ผู้บริโภคได้ ความรุนแรงของโรคและอาการจะขึ้นอยู่กับชนิด สายพันธุ์ของจุลินทรีย์ และความสามารถในการต้านทานโรคของผู้บริโภค และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะพิษจากการใช้สารเคมีในอาหารโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามจึงทำให้เกิดการตกค้างในอาหารแล้วเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ สถานประกอบการด้านอาหารต่างๆ ในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ไม่ได้มาตรฐาน ประกอบกับความต้องการบริโภคอาหารจากสถานประกอบการด้านอาหารมีมากขึ้นซึ่งเป็นไปตามวิถีการดำรงชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน ทำให้ผู้บริโภคต้องเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่นำโดยอาหารและน้ำ ดังนั้นสถานประกอบการด้านอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานจึงเป็นแหล่งแพร่ระบาดของโรคอย่างดี ดังนั้นร้านค้าซึ่งเป็นแหล่งปรุงประกอบอาหารเพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภคจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการจัดการสุขาภิบาลอาหารเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้น ปัจจุบันมีการจำหน่ายอาหารพร้อมบริโภคเป็นจำนวนมาก คุณภาพอาหารทางจุลินทรีย์ของอาหารพร้อมบริโภค อาจะไม่ได้มาตรฐาน เชื้อจุลินทรีย์ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร…
การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยเลือกพื้นที่เป้าหมายที่มีความวิกฤตของปัญหา ชุมชนใกล้เคียงต้องมีความต้องการในการแก้ไขปัญหาด้วยกัน การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติใน พื้นที่ลุ่มน้ำ ผ่านกระบวนการเวทีชาวบ้าน เพื่อให้เกิดการระดมความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมของชุมชน ร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมในการฟื้นฟูควรเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนความยั่งยืนของชุมชน เช่น – ฝายชะลอการไหลของน้ำ – ทำแนวกันไฟแบบป่าเปียก – ทำคลองไส้ไก่ เพื่อเพิ่มความชื้นในพื้นที่ป่าที่ต้องฟื้นฟู – ปลูกป่าฟื้นฟูระบบนิเวศ โดยคัดเลือกพันธุไมทองถิ่นดั้งเดิม – วางแผนการใช้ที่ดินของเกษตรกรในพื้นที่สูงชัน – จัดการขยะมูลฝอยชุมชน – ควบคุมการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างปลอดภัย – ส่งเสริมการปศุสัตว์เพื่อลดการพึ่งพิงทรัพยากรจากป่าอนุรักษ์ – ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ…
การดำรงชีวิตของมนุษย์มีความสัมพันธ์กับแหล่งน้ำทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น การตั้งถิ่นฐาน การประกอบอาชีพ การคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว การผลิต จึงแสดงให้เห็นว่าในทุกยุคสมัยมนุษย์ไม่สามารถขาดน้ำได้ สำหรับประโยชน์ของการใช้น้ำ มีดังนี้ 1.ทางด้านอุปโภคบริโภค มนุษย์จำเป็นต้องใช้น้ำในการดื่มกิน ประกอบอาหาร หรือชำระล้างสิ่งสกปรกตามสิ่งของหรือร่างกาย โดยแหล่งน้ำที่นำมาใช้ด้านอุปโภคบริโภคจะมาจากน้ำใต้ดินหรือแหล่งน้ำผิวดิน 2.ทางด้านการชลประทาน และเกษตรกรรม ทั้งในด้านการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากทั้งหมดต้องใช้น้ำทั้งนั้น นอกจากนี้ประชากรกว่าครึ่งโลกประกอบอาชีพเกษตรกรรมทั้งนั้น ดังนั้นพื้นที่ของโลกมีคนใช้ประโยชน์จากน้ำเยอะมาก คิดเป็นร้อยละ 45 ของประชากร 3.ทางด้านอุตสาหกรรม น้ำที่ใช้ในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ใช้เพื่อระบายความร้อนของเครื่องจักรรวมทั้งใช้เป็นส่วนผสมหรือตัวทำลาย ดังนั้นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมมักจะตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ เพื่อใช้สำหรับการอุตสาหกรรมและการขนส่ง ยิ่งอยู่ใกล้แหล่งน้ำยิ่งได้เปรียบทางด้านการผลิต 4.ด้านผลิตพลังงานไฟฟ้า…
น้ำมีส่วนในการพัฒนาทรัพยากรของโลก ทำให้ประชากรต่างต้องการน้ำในการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการเกษตรและอุตสาหกรรมที่ต้องใช้น้ำมากขึ้นทุกวัน หลายบริษัทเริ่มให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลเท่าเทียมกับการดำเนินธุรกิจ ธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรน้ำควรตระหนักถึงความสำคัญ ในการผลิตที่ต้องใช้น้ำในปริมาณมาก ควรกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการน้ำอย่างชัดเจน ให้ทุกโรงงานลดการใช้น้ำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพโดยการนำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำ ในหลายๆบริษัทเริ่มใช้นโยบายเหล่านี้ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสนับสนุนธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรน้ำที่มีอยู่จำกัด โดยมีวิธีการดำเนินการ ดังนี้ 1.การลดการใช้ (Reduce) – ลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตโดยให้เกิดของเสียน้อยที่สุด 2.การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) – นำน้ำที่เกิดจากการระเหยน้ำกาแฟเข้มข้นกลับมาใช้ในการต้มสกัดใหม่ 3.การนำมาใช้ใหม่ (Recycle) – นำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว มาใช้รดต้นกล้ากาแฟ ต้นไม้ในโรงงาน และใช้เป็นน้ำป้อนที่หอหล่อเย็น…
Read More ควรให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้ทำให้เกิดแผนที่เส้นทาง (Road Map) ของการพัฒนากลไก เพื่อรองรับในเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แนวทางการพัฒนาฐานข้อมูลด้านพลังงานและวัสดุพื้นฐานสำหรับประเทศไทย รวมทั้งเทคนิคและวิธีการจัดทำบัญชีรายการของการใช้ทรัพยากรและของเสียที่เกิดขึ้นตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นแนวโน้มของตลาดโลกที่ประเทศพัฒนาแล้วกำลังวางเงื่อนไขกฎเกณฑ์ โดยใช้ภาระด้านสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นนำทางให้มีการพิจารณาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ซึ่งครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการผลิตระหว่างการใช้ผลิตภัณฑ์ และการกำจัดผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุใช้งานแล้วโดยการจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดใหม่นี้ ส่งผลให้กรอบความรับผิดชอบของผู้ประกอบการไม่จำกัดอยู่เพียงภายในกิจการของตนเองอีกต่อไป และอาจสร้างผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศ ถ้าผู้ผลิตไม่ได้ทำการปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดของกลุ่มประเทศเหล่านั้น การจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ประกอบการจึงมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการจำเป็นต้องทราบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากวัตถุดิบ หรือบริการที่ใช้จากผู้ขายวัตถุดิบหรือผู้ให้บริการ ดังนั้นเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นกับการส่งออกผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นในประเทศ และการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทย จึงควรมีการศึกษาความพรอ้มสถานภาพของประเทศในประเด็นดังกล่าว เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับกลไกที่ภาครัฐจำเป็นต้องพัฒนาขึ้นสำหรับช่วยภาคการผลิตในการปรับตัว และสามารถดำเนินกิจการได้สอดคล้องกับข้อกำหนดใหม่ของประเทศคู่ค้า
ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมวลมนุษยชาติ การขาดความรู้ทางด้านชีววิทยาเกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมก็จะนำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการศึกษาในปัจจุบันก้าวหน้าจนสามารถตัดต่อยืนจากสิ่งมีชีวิตในกระบวนการพันธุวิศวกรรมซึ่งนำมาใช้ทางการแพทย์ เช่น สามารถใช้ยีสต์ผลิตฮอร์โมนอินซูลินเพื่อรักษาโรคเบาหวาน สามารถใช้สุกรสร้างโกรทฮอร์โมนเพื่อรักษาเด็กที่มีความสูงหรือต่ำกว่าปกติ และใช้ยีนบำบัดในการรักษาโรคทางพันธุกรรมบางชนิด เป็นต้น ชีววิทยา จะศึกษาเฉพาะเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตโดยใช้ขั้นตอนการศึกษาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกระบวนการศึกษาที่นักชีววิทยาใช้ในการศึกษาเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตตามขั้นตอน ดังนั้นวิชาชีววิทยาจึงเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการศึกษาสิ่งมีชีวิต ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความรู้ที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ที่นักชีววิทยาได้รวบรวมบันทึกไว้ในรูปของข้อมูล ข้อเท็จจริง กฏ หลักเกณฑ์ ข้อสรุป และทฤษฎี เพื่อใช้อธิบายสภาพทางธรรมชาติ กระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิต เป็นการศึกษาทางธรรมชาติและกระบวนการต่างๆของสิ่งมีชีวิตอย่างมีเหตุผลทำให้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆที่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราและตัวของมนุษย์ที่ร่วมระบบนิเวศเดียวกัน การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตเราจะต้องเข้าใจคุณสมบัติหรือธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันความรู้ทางชีววิทยาได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆเรื่องที่สำคัญในชีวิตของเรา ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ความเข้าใจทางด้านชีววิทยาเป็นอย่างดีจนสามารถประยุกต์เพื่อใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด การที่เราสามารถเข้าใจสิ่งมีชีวิตและกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตก็เปรียบเสมือนกับการที่เราเข้าใจตัวเอง จนสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้…
Read More การศึกษาชีววิทยาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตต้องเข้าใจคุณสมบัติหรือธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ในระยะเวลาที่ผ่านมา นโยบายภาครัฐได้ให้ความสำคัญมุ่งพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการค้าทั้งในด้านของคุณภาพผลิตภัณฑ์และขั้นตอนการผลิต รวมถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพโดยแนวทางหนึ่งคือการส่งเสริมให้มีห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ของสำหรับการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์และการควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ทดสอบสิ่งแวดล้อมในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมศักยภาพด้านการวิเคราะห์ทดสอบอย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลปัจจุบันมีโรงงานและบริษัทที่ปรึกษาได้ขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งยังขาดการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการที่ควบคุมคุณภาพอย่างเป็นระบบ เพราะมีปัญหาอุปสรรค์มากมาย ทั้งในเรื่องขาดความรู้ ขาดความพร้อมของบุคลากร และปัจจัยเงินลงทุน กรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องการสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาระบบการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ดีสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรม จึงได้จัดทำโครงการยกระดับห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนสำหรับห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผลการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนที่ขึ้นทะเบียนกับ กรอ.มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีการจัดการ ควบคุมคุณภาพวิเคราะห์ทดสอบสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นระบบตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการควบคุมคุณภาพและพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ทดสอบด้าน สิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม มาตรฐาน ISO/IEC 17025 เป็นมาตรฐานสากลที่เป็นการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ โดยครอบคลุมทุกด้านของการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่การเตรียมตัวอย่างถึงความชำนาญในการวิเคราะห์ทดสอบ การเก็บบันทึกและการรายงานผล มาตรฐานนี้เน้นองค์ประกอบหลายด้าน ซึ่งได้แก่ระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ การควบคุมเอกสาร บุคลากร การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน…
Read More การวิจัยสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม
สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลายจะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะที่นำมาใช้ได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น ได้แก่ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย…
Read More สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์
ปัจจุบัน การเพิ่มของประชากรโดยเฉลี่ยทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น การที่ประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น หมายถึง ความต้องการในการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตขั้นต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย ทำให้เกิดผลต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ทำกินทางการเกษตร จนมีการบุกรุกทำลายป่า ทำให้เกิดเสียสมดุลทางธรรมชาติ อีกทั้งความต้องการในการใช้ ทรัพยากรอื่น ๆ มากขึ้นเช่น น้ำ แร่ธาตุ พลังงานอากาศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเพิ่มของประชากรมาก ขึ้นในแต่ละปี เป็นสาเหตุสำคัญที่ที่ทำให้การใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นและเป็นผลให้จำนวน ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมาการขยายตัวของชุมชนหรือเมือง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติต่าง ๆ…
Read More การพัฒนาและการวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
เนื่องจากทรัพยากรน้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในการดำรงชีวิต และน้ำยังมีประโยชน์ต่างๆอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นด้านอุปโภค บริโภค เกษตรกรรรม อุตสาหกรรม แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งพลังงาน ตลอดจนด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้ประสบกับปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม และน้ำเสีย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรมที่เป็นเศรษฐกิจหลักและเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศเนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยหลักของการผลิตด้านเกษตร การพัฒนาแหล่งน้ำจึงเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ที่จะช่วยสร้างความมั่นคงแก่ประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้กรมชลประทานซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและการใช้น้ำในด้านต่างๆนอกจากนี้แล้วการดำเนินงานของกรมชลประทานยังได้มีการพัฒนาโครงการชลประทานครอบคลุมพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศเพื่อให้มีน้ำใช้ที่เพียงพอและกระจายไปยังพื้นที่การเพาะปลูกโดยทั่วถึงโดยการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่างๆที่สามารถช่วยบรรเทาการขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตรและยังมีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการทรัพยากรน้ำจากโครงการชลประทาน โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำด้วยกันแล้วยังทำให้มีการจัดการใช้ดินให้เกิดประโยชน์มากขึ้นและทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย อีกทั้งการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงานของภาครัฐตามแผนโครงการ ดังนั้นภาครัฐควรจะเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้เข้าไปมีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็น การเข้าประชุมและอบรม และควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง โดยการมุ่งเน้นไปที่ประโยชน์และปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการชลประทานให้แก่เกษตรกรได้ทราบและมีการจัดกิจกรรมในการจัดการทรัพยากรน้ำให้แก่เกษตรกร จะเห็นได้ว่าน้ำมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประชากรทั่วโลก ปัญหาความต้องการแหล่งน้ำเพื่อใช้สำหรับอุปโภค บริโภคและสุขอนามัยในชีวิตประจำวัน ตลอดจนถึงการเกษตรและอุตสาหกรรม นับวันจะเพิ่มมากขึ้นฉะนั้นการสร้างคุณค่าร่วมกันจะนำไปสู่การจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืนได้เป็นอย่างดี
Read More การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อใช้อย่างยั่งยืน
ปัจจุบันจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นด้วย ขณะเดียวกัน มลพิษที่ถูกสร้างขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ย้อนกลับไปทำลายแหล่งน้ำธรรมชาติ ทั้งน้ำผิวดินและใต้ดิน ในขณะที่คุณภาพน้ำ กำลังถูกทำให้เสื่อมลงจากการกระทำของมนุษย์ กล่าวคือ ธรรมชาติสามารถสร้างต้นทุนได้ในปริมาณที่ไม่แตกต่างไปจากอดีต แต่น้ำต้นทุนเหล่านี้กลับปนเปื้อนไปด้วยมลพิษ ทำให้คุณภาพน้ำเปลี่ยนไปและเป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับกิจกรรมของมนุษย์มากขึ้นทรัพยากรน้ำมีความสำคัญเนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดได้มีการนำน้ำมาใช้ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บ้านเรือน นันทนาการและกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม มีพื้นที่เพาะปลูกเป็นจำนวนมากตามภาคต่างๆส่วนใหญ่ยังคงอาศัยน้ำฝนและใช้น้ำจากแม่น้ำ ลำธารตามที่มีเป็นหลัก เนื่องจากไม่มีงานพัฒนาแหล่งน้ำช่วยเหลือ ปีใดที่มีฝนตกโดยเฉลี่ยดีตลอดฤดูกาลเพาะปลูกก็จะทำให้การเพาะปลูกในปีนั้นได้รับผลดีตามไปด้วย แต่ถ้าหากปีใดมีฝนตกน้อยหรือไม่มีฝนตกในเวลาที่พืชต้องการ การเพาะปลูกในปีนั้นก็จะได้รับความเสียหายหรือ ไม่ได้รับผลิตผลดีเท่าที่ควร เป็นเหตุให้เกษตรกรในหลายท้องที่ต้องได้รับความเดือดร้อนเพราะไม่มี น้ำสำหรับทำนา ปลูกพืชไร่ และใช้เลี้ยงสัตว์อยู่เสมอทุกปี การขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ที่อยู่ในเขตที่มีฝนค่อนข้างน้อย…
Read More การบริหารทรัพยากรน้ำเพื่อใช้ในด้านการเกษตรและเลี้ยงสัตว์
มลพิษสิ่งแวดล้อม (Pollution Environment) คือ ภาวะที่มีสารมลพิษ (Pollutants) หรือภาวะแปลกปลอมอื่น ๆ ปะปนในสิ่งแวดล้อมในระดับที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เป็นภาวะที่ผิดปกติไปจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติเดิม เกินขีดมาตรฐานที่ชีวิต จะทนได้ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 ได้ให้ความหมายของมลพิษไว้ว่า “ของเสีย วัตถุอันตรายและมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่ปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษหรือที่มี อยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้และให้หมายความถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง คลื่น ความสั่นสะเทือนหรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษด้วย” มลพิษทางน้ำ หมายถึง สภาวะที่น้ำตามธรรมชาติถูกปนเปื้อนด้วยสิ่งแปลกปลอม (pollutants) และทำให้คุณภาพของน้ำเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลงหรือคุณภาพเสื่อมโทรมลง…
Read More การวิจัยมลพิษสิ่งแวดล้อมและมลพิษทางน้ำและการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ในปัจจุบันมีสารเคมีที่ใช้ในทางอุตสาหกรรมหรือสารพิษต่างๆที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมาก สารเคมีเหล่านี้มีโอกาสที่จะปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมและมนุษย์อาจได้รับสัมผัสและเกิดเป็นปัญหาทางสุขภาพขึ้นได้ เช่น สารพิษที่มีผลต่อระบบของต่อมไร้ท่อ โลหะหนักและสารกลุ่มไดออกซินและสารกลุ่มโพลี่คลอโรไบเฟ็นนิลหรือพีซีบี เป็นต้น ซึ่งสารต่างๆเหล่านี้สามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ได้มากมาย เช่น โรคมะเร็งและความผิดปกติต่อระบบสืบพันธ์ สารพิษเหล่านี้นอกจากจะสามารถตรวจพบได้ในเขตภาคเหนือตอนล่างแล้วยังสามารถพบได้ทั่วโลก ดังนั้นปัญหาที่เกี่ยวกับสารพิษเหล่านี้และการวิจัยที่เกี่ยวข้องย่อมเป็นที่สนใจต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ทั้งนี้ในมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นองค์กรที่มีนักวิจัยและกลุ่มวิจัยที่มีความสามารถสูง ในด้านการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการใช้การวิเคราะห์เชิงอภิมาน ซึ่งวิธีการในการวิจัยทั้งสองชนิดนี้เป็นเครื่องมือวิจัยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาได้อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้กลุ่มนักวิจัยเหล่านี้มีผลงานเป็นที่ยอมรับและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารด้านทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาและวารสารทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่างๆที่มีค่า journal impact factor สูง ซึ่งถือว่าเป็นข้อได้เปรียบที่มีเอกลักษณ์ ในการสร้างสรรค์งานวิจัยด้าน quantitative & computational toxicology ให้กับมหาวิทยาลัย ประเทศไทย และสังคมวิทยาศาสตร์ของโลกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ผลงานที่เกิดจากการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สามารถนำไปใช้ต่อเนื่องกับงานวิจัยด้านการประเมินความเสี่ยงจากการได้รับสัมผัสสารเคมีได้ต่อไปอีกด้วย…
จากการวิจัยพบว่าทรัพยาการน้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของทั้งมนุษย์ สัตว์ พืชและเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดในโลก ที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นมาในโลก น้ำจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นการดำรงอยู่และการสิ้นสุดของสรรพสิ่ง นอกจากนี้น้ำยังเป็นแหล่งที่ก่อกำเนิดชุมชนมนุษย์และอารยธรรมอันเก่าแก่ในโลกล้วนสัมพันธ์ใกล้ชิดกับน้ำทั้งสิ้น ด้วยมนุษย์เชื่อจากการมองเห็นว่าในโลกนี้มีน้ำเป็นสสารที่มีปริมาณมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสสารอื่นที่มีอยู่ มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการนำน้ำมาใช้ประโยชน์เพื่อตนเองในด้านต่าง ๆ มากที่สุดในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลกใบนี้หมายรวมถึงการใช้น้ำในประเทศไทยด้วย น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ น้ำตามสภาพธรรมชาติที่ประชาชนทุกท้องที่อาศัยใช้ ได้แก่ น้ำในบรรยากาศ (ฝน) น้ำผิวดิน และน้ำบาดาล นับเป็นผลิตผลจากธรรมชาติที่เราไม่สามารถผลิตเพิ่มขึ้นมา หรือลดปริมาณที่มีอยู่ในธรรมชาติได้เองตามต้องการ ในภาวะปัจจุบันเราต้องบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรน้ำ โดยมีวิธีคิดและดำเนินงานหลายด้านอย่างเป็นระบบเป็นองค์รวม มองเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นแล้วค้นหาแนวทางแก้ไขอย่างเป็นระบบครบวงจร ต้องมองว่าทุกสิ่งเป็นพลวัตที่ทุกมิติมีความเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะน้ำ ดิน และทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ…
Read More จากการวิจัยสิ่งแวดล้อมทรัพยากรน้ำมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์