เนื่องจากทรัพยากรน้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในการดำรงชีวิต และน้ำยังมีประโยชน์ต่างๆอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นด้านอุปโภค บริโภค เกษตรกรรรม อุตสาหกรรม แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งพลังงาน ตลอดจนด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้ประสบกับปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม และน้ำเสีย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรมที่เป็นเศรษฐกิจหลักและเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศเนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยหลักของการผลิตด้านเกษตร การพัฒนาแหล่งน้ำจึงเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ที่จะช่วยสร้างความมั่นคงแก่ประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้กรมชลประทานซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและการใช้น้ำในด้านต่างๆนอกจากนี้แล้วการดำเนินงานของกรมชลประทานยังได้มีการพัฒนาโครงการชลประทานครอบคลุมพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศเพื่อให้มีน้ำใช้ที่เพียงพอและกระจายไปยังพื้นที่การเพาะปลูกโดยทั่วถึงโดยการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่างๆที่สามารถช่วยบรรเทาการขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตรและยังมีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการทรัพยากรน้ำจากโครงการชลประทาน โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำด้วยกันแล้วยังทำให้มีการจัดการใช้ดินให้เกิดประโยชน์มากขึ้นและทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย อีกทั้งการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงานของภาครัฐตามแผนโครงการ ดังนั้นภาครัฐควรจะเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้เข้าไปมีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็น การเข้าประชุมและอบรม และควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง โดยการมุ่งเน้นไปที่ประโยชน์และปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการชลประทานให้แก่เกษตรกรได้ทราบและมีการจัดกิจกรรมในการจัดการทรัพยากรน้ำให้แก่เกษตรกร จะเห็นได้ว่าน้ำมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประชากรทั่วโลก ปัญหาความต้องการแหล่งน้ำเพื่อใช้สำหรับอุปโภค บริโภคและสุขอนามัยในชีวิตประจำวัน ตลอดจนถึงการเกษตรและอุตสาหกรรม นับวันจะเพิ่มมากขึ้นฉะนั้นการสร้างคุณค่าร่วมกันจะนำไปสู่การจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืนได้เป็นอย่างดี
Read More การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อใช้อย่างยั่งยืน